วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ประณามคาถาและปฏิญญา

ประณามคาถาและปฏิญญา


สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ
อภิวาทิย  ภาสิสฺสํ อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ

               ข้าพระพุทธเจ้า (พระอนุรุทธาจารย์)  ขอนอบน้อมถวายอภิวันทนาการแด่พระพุทธองค์  ผู้ตรัสรู้เญยยธรรมทั้งหลายเอง  ไม่มีผู้เปรียบปาน  พร้อมด้วยพระสัทธรรม   และคณะพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายซึ่งเป็นผู้อุดมแล้ว  จักแต่งคัมภีร์ที่มีนามว่า  อภิธัมมัตถสังคหะต่อไป

               ประณาม  คือ  การกล่าวคำนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย  ด้วยบทที่ว่า “สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ  สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ  อภิวาทิย”
               ปฏิญญา  คือ  ความตั้งใจกล่าวคำรับรองว่าจะแต่งคัมภีร์นี้ให้สำเร็จตามที่ขอร้อง “ภาสิสฺสํ  อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ”
        
        เมื่อจำแนกบทโดยสามัญแล้ว  มี 6 บท  คือ
(1)  สมฺมาสมฺพุทฺธํ หมายความว่า ผู้ตรัสรู้เญยยธรรมทั้งปวงตามลำพังพระองค์เองอย่างถูกถ้วน  ได้แก่  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำพวกเดียว
(2)  อตุลํ หมายความว่า หาผู้เปรียบปานมิได้
(3)  สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ หมายความว่า พร้อมด้วยพระสัทธรรมและคณะพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายซึ่งเป็นผู้อุดมแล้ว

         สัทธรรม  มี 3 อย่าง  คือ
   1)  ปริยัติสัทธรรม  ได้แก่  พระบาลีและอรรถกถา
   2)  ปฏิบัติสัทธรรม  ได้แก่  การรักษาศีล  การถือธุดงค์  การเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
   3)  ปฏิเวธสัทธรรม  ได้แก่  มรรค  ผล  นิพพาน  ฌาน  อภิญญา

(4)  อภิวาทิย หมายความว่า เป็นคำนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
(5)  ภาสิสฺสํ หมายความว่า เป็นคำรับรองว่าจะแต่ง
(6)  อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ หมายความว่า ตามที่ได้กล่าวคำรับรองว่าจะแต่งนั้น  ก็ได้แก่  คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหปกรณ์นี้เอง

       คำว่า “อภิธมฺมตฺถสงฺคห” นั้น  เมื่อแยกบทแล้วได้ 4 บท  คือ  อภิธมฺม  +  อตฺถ  +  สํ  +  คห
อภิธมฺม หมายความว่า ธรรมที่พิเศษยิ่งกว่าพระสูตร  ได้แก่  พระอภิธรรม 7 คัมภีร์
อตฺถ หมายความว่า เนื้อความแห่งพระอภิธรรม  ได้แก่  จิต  เจตสิก  รูป  นิพพาน  บัญญัติ
สํ หมายความว่า โดยย่อ
คห หมายความว่า การรวบรวม

     เมื่อรวมบททั้ง 4 บทนี้แล้วเป็น  อภิธมฺมตฺถสงฺคห  แปลว่า  การรวบรวมจิต  เจตสิก  รูป  นิพพาน  บัญญัติ  ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ในอภิธรรม 7 คัมภีร์  ย่อลงในปกรณ์นี้  หรือเรียกอีกอย่างว่า  “อรรถกถานิ้วก้อย

       คำว่า “เญยยธรรม”  หมายความว่า  ธรรมที่ควรรู้  มี 5 ประการ  คือ
(1)  สังขาร ได้แก่ จิต 89  เจตสิก 52  และนิปผันนรูป 18
(2)  วิการ ได้แก่ วิการ 5
(3)  ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะรูป 4
(4)  นิพพาน ได้แก่ ธรรมชาติที่นอกจากขันธ์ 5  และบัญญัติ
(5)  บัญญัติ มี 2 อย่าง  คือ
       1)  สัททบัญญัติ  ได้แก่  ชื่อต่างๆ  ภาษาต่างๆ
       2)  อัตถบัญญัติ  ได้แก่  เนื้อความ  คือ  คำอธิบายใจความในเรื่องนั้นๆ  และรูปร่างสัณฐานของมนุษย์  เทวดา  พรหม  อบายสัตว์  ต้นไม้  แผ่นดิน  ภูเขา  แม่น้ำ  ป่า เป็นต้น






วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561

หนังสือ "เอกสารประกอบการศึกษา ปรมัตถธรรม 4"

หนังสือ "เอกสารประกอบการศึกษา  ปรมัตถธรรม 4  ปริจเฉทที่ 1-2-6  ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะตรี"  โดยพระอาจารย์ดลนะภา  ฉนฺทสีโล.....

หนังสือ "หลักสูตรปัญหาและเฉลย"

หนังสือ "หลักสูตรปัญหาและเฉลย  ในชั้นจูฬอาภิธรรมิกะตรี - โท".....

หนังสือ "คู่มือการศึกษาพระอภิธรรม"

หนังสือ "คู่มือการศึกษาพระอภิธรรม  ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะตรี".....

หนังสือ "คู่มือการศึกษา ปรมัตถธรรม 4"

หนังสือ "คู่มือการศึกษา  ปรมัตถธรรม 4  จิ เจ รุ นิ ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะตรี" .....

หนังสือ "ปรมัตถโชติกะ"

หนังสือ "ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 1-2-6 จิต เจตสิก รูป นิพพาน หลักสูตรชั้นจูฬอาภิธรรมิกะตรี".....

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ประณามคาถาและปฏิญญา

ประณามคาถาและปฏิญญา สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ อภิวาทิย  ภาสิสฺสํ อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ                ข้าพระพุทธเจ้า (พระอนุ...